ภพพูด
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562
ชาวมายาโบราณ อำมหิตกว่าที่เราเคยรู้!
นักบวชในอาภรณ์แปลกตาประดับขนนกเควตซัล (Quetzal) สีฉูดฉาดที่กำลังเงื้อมีดหินเตรียมจ้วงแทงลงไปบนหน้าอกของเหยื่อที่นอนหายใจรวยรินอยู่บนแท่นหินบูชาบนยอดพีระมิดหมายจะควักหัวใจที่ยังคงเต้นตุบๆออกมาชูขึ้นเหนือศีรษะเพื่อเป็นเครื่องบูชายัญแด่เทพเจ้า...คงจะเป็นภาพที่หลายๆท่านคุ้นชินกันดีเมื่อกล่าวถึงชนเผ่าในอารยธรรมเมโสอเมริกา หรืออเมริกากลางโบราณที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณประเทศเม็กซิโก แต่แท้ที่จริงแล้ว กลุ่มวัฒนธรรมที่กระทำพิธีกรรมควักหัวใจอันโหดร้ายเช่นนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นชาวแอสเท็กซ์ (Aztecs) ที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่ในดินแดนอเมริกากลางโบราณในช่วงประมาณปี ค.ศ.1300 เท่านั้นเองครับ สำหรับอีกหนึ่งชนเผ่าที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน แถมยังครองความเป็นใหญ่ในดินแดนประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา ฮอนดูรัสและเบลิซมาก่อนหน้านั้นอย่างชาว “มายาโบราณ” กลับไม่ค่อยมีพิธีกรรมอันน่าสยดสยองสักเท่าใดนัก นั่นทำให้นักโบราณคดีเสนอว่าชาวมายาโบราณเป็นกลุ่มชนที่ “มีเมตตา” กว่าชาวแอสเท็กซ์อยู่โขเลยล่ะครับ แต่การค้นพบล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.2019 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความอ่อนโยนของชาวมายาไปอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้กลายเป็นว่าชาวมายาโบราณไม่ได้เป็นกลุ่มชนที่ “อ่อนโยน” หรือ “รักสงบ” เหมือนดังที่นักมายันวิทยาเคยเสนอกันมาในอดีต นอกจากนั้น ชาวมายาโบราณยังเคยทำ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total War) ด้วยการสู้รบอย่างถึงพริกถึงขิงด้วยการระดมสรรพกำลังเท่าที่มีทั้งหมดเพื่อเข้าทำลายศัตรูให้ราบเป็นหน้ากลอง แถมผู้ที่ก่อสงครามนี้อาจจะเป็น “สตรี” เสียด้วย!! ช่วงประวัติศาสตร์ของอารยธรรมมายาโบราณอันเป็นฉากของการค้นพบในครั้งนี้เรียกว่า “ยุคคลาสสิก” ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในช่วงปี ค.ศ.250 จนถึงปี ค.ศ.900 ถือเป็นยุคที่นครรัฐต่างๆของชาวมายาโบราณกำลังเฟื่องฟูสูงสุด แต่สุดท้ายเมื่อถึงปี ค.ศ.900 นครรัฐเหล่านี้กลับล่มสลายหายไปอย่างไร้ร่องรอย ข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทีวีไลฟ์สไตล์กีฬาบันเทิงดวงหวยนิยายคลิปข่าว ชาวมายาโบราณ อำมหิตกว่าที่เราเคยรู้! ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน8 ก.ย. 2562 05:38 น. SHARE นักบวชในอาภรณ์แปลกตาประดับขนนกเควตซัล (Quetzal) สีฉูดฉาดที่กำลังเงื้อมีดหินเตรียมจ้วงแทงลงไปบนหน้าอกของเหยื่อที่นอนหายใจรวยรินอยู่บนแท่นหินบูชาบนยอดพีระมิดหมายจะควักหัวใจที่ยังคงเต้นตุบๆออกมาชูขึ้นเหนือศีรษะเพื่อเป็นเครื่องบูชายัญแด่เทพเจ้า...คงจะเป็นภาพที่หลายๆท่านคุ้นชินกันดีเมื่อกล่าวถึงชนเผ่าในอารยธรรมเมโสอเมริกา หรืออเมริกากลางโบราณที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณประเทศเม็กซิโก แต่แท้ที่จริงแล้ว กลุ่มวัฒนธรรมที่กระทำพิธีกรรมควักหัวใจอันโหดร้ายเช่นนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นชาวแอสเท็กซ์ (Aztecs) ที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่ในดินแดนอเมริกากลางโบราณในช่วงประมาณปี ค.ศ.1300 เท่านั้นเองครับ สำหรับอีกหนึ่งชนเผ่าที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน แถมยังครองความเป็นใหญ่ในดินแดนประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา ฮอนดูรัสและเบลิซมาก่อนหน้านั้นอย่างชาว “มายาโบราณ” กลับไม่ค่อยมีพิธีกรรมอันน่าสยดสยองสักเท่าใดนัก นั่นทำให้นักโบราณคดีเสนอว่าชาวมายาโบราณเป็นกลุ่มชนที่ “มีเมตตา” กว่าชาวแอสเท็กซ์อยู่โขเลยล่ะครับ แต่การค้นพบล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.2019 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความอ่อนโยนของชาวมายาไปอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้กลายเป็นว่าชาวมายาโบราณไม่ได้เป็นกลุ่มชนที่ “อ่อนโยน” หรือ “รักสงบ” เหมือนดังที่นักมายันวิทยาเคยเสนอกันมาในอดีต นอกจากนั้น ชาวมายาโบราณยังเคยทำ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total War) ด้วยการสู้รบอย่างถึงพริกถึงขิงด้วยการระดมสรรพกำลังเท่าที่มีทั้งหมดเพื่อเข้าทำลายศัตรูให้ราบเป็นหน้ากลอง แถมผู้ที่ก่อสงครามนี้อาจจะเป็น “สตรี” เสียด้วย!! ช่วงประวัติศาสตร์ของอารยธรรมมายาโบราณอันเป็นฉากของการค้นพบในครั้งนี้เรียกว่า “ยุคคลาสสิก” ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในช่วงปี ค.ศ.250 จนถึงปี ค.ศ.900 ถือเป็นยุคที่นครรัฐต่างๆของชาวมายาโบราณกำลังเฟื่องฟูสูงสุด แต่สุดท้ายเมื่อถึงปี ค.ศ.900 นครรัฐเหล่านี้กลับล่มสลายหายไปอย่างไร้ร่องรอย การบูชายัญมนุษย์ด้วยการควักหัวใจของชาวแอสเท็กซ์. ในอดีตนักมายันวิทยาเสนอว่า อารยธรรมมายาโบราณยุคคลาสสิกล่มสลายลงไป เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดภัยแล้งจนชาวมายาโบราณต้องรบราฆ่าฟันกันเอง เพื่อแย่งชิงทั้งอาหารและทรัพยากร แต่จากหลักฐานใหม่ที่เพิ่งค้นพบอาจเป็นไปได้ว่าชนโบราณเหล่านี้ประจันหน้ากันอย่างรุนแรงถึงขั้น “เผาบ้านเผาเมือง” จนราบเป็นหน้ากลอง ทั้งๆที่ยังไม่เกิดภัยแล้งขั้นวิกฤติจนต้องแย่งชิงอาหารกันเลยด้วยซ้ำ นครในยุคคลาสสิกที่เป็นพระเอกของเราในครั้งนี้มีอยู่ด้วยกันสองแห่งครับ แห่งแรกชื่อว่าเมือง “นารันโฮ” (Naranjo) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศกัวเตมาลาติดชายแดนฝั่งทิศตะวันตกของประเทศเบลิซส่วนนครอีกแห่งหนึ่งก็คือเมือง “วิตซนา” (Witzna) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนารันโฮ ห่างออกไปประมาณ 32 กิโลเมตร ความน่าสนใจของการค้นพบทางโบราณคดีในครั้งนี้ก็คือหลักฐานที่นักโบราณคดีได้มาจากแหล่งขุดค้นในนครวิตซนากับจารึกบนศิลาที่ถูกสลักเอาไว้โดยชาวมายาโบราณในเมืองนารันโฮนั้นสอดคล้องตรงกันพอดิบพอดี ประหนึ่งว่าหลักฐานทั้งสองชิ้นนี้สื่อถึงเหตุการณ์เดียวกันก็ไม่ปาน และเหตุการณ์ที่ว่านั้นก็คือการ “เผาเมือง” ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมืองวิตซนานั่นเอง ศิลาจารึกที่ค้นพบจากเมืองนารันโฮแผ่นนี้สลักข้อความที่ระบุถึงสงครามระหว่างเมืองนารันโฮกับนครรัฐอื่นๆในบริเวณนั้นเอาไว้ โดยมีข้อความส่วนหนึ่งที่ถอดความได้ว่า “ในวันที่ 3 เบน 16 เซค เมืองบาห์ลัม โฮล (Bahlam Jol) ถูกเผาเป็นครั้งที่สอง” ข้อความนี้ระบุวันที่ในระบบปฏิทินของชาวมายาโบราณที่สามารถเทียบกลับมาได้ตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ.697 แปลว่าวันที่ “บาห์ลัม โฮล” ถูกเผาเป็นครั้งที่สองนั้นก็ตรงกับช่วงยุครุ่งเรืองของอาณาจักรมายาโบราณยุคคลาสสิกพอดิบพอดีเลยครับ ตัวอย่างชั้นดินจากทะเลสาบใกล้เมืองวิตซนา. คำถามต่อมาก็คือ แล้วเมือง “บาห์ลัม โฮล” ที่ว่านี้ตั้งอยู่ตรงไหนของอาณาจักรกันล่ะ? คำถามนี้ไม่สามารถตอบได้ง่ายๆครับ เพราะเราทราบดีว่ามายาโบราณคืออาณาจักรในป่าดงดิบเหมาะสำหรับยอดนักผจญภัยขั้นเทพอย่าง “อินเดียน่า โจนส์” มากกว่านักโบราณคดีที่เป็นมนุษย์ปกติธรรมดา นอกจากนั้น อาณาจักรมายาโบราณยังคงมีพื้นที่ลึกลับซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนป่าอีกมากมายที่ยังไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อนเลยครับ ทำให้การตามหาว่านคร “บาห์ลัม โฮล” จากจารึกของเมืองนารันโฮควรจะตั้งอยู่ตรงไหนใต้ผืนป่าเขียวขจีนั้นไม่ง่ายเลย แต่สำหรับกรณีนี้ต้องถือว่าโชคดี เพราะนักมายันวิทยาได้ค้นพบหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งจากเมือง “วิตซนา” ที่ปรากฏคำว่า “บาห์ลัม โฮล” เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของนครเข้าพอดี นั่นหมายความว่า “บาห์ลัม โฮล” กับ “วิตซนา” คือเมืองเดียวกันนั่นเอง นอกจากนี้ การค้นพบทางโบราณคดีจากชั้นดินที่ลึกลงไป 7 เมตรใต้ทะเลสาบที่มีอายุร่วมสมัยกับชาวมายาโบราณ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่ของเมืองวิตซนาในอดีต ก็ช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่าชื่อนคร “บาห์ลัม โฮล” ในจารึกของชาวมายาโบราณกับชื่อเมือง “วิตซนา” ที่นักมายันวิทยาตั้งให้ในปัจจุบันนั้นจะต้องเป็นเมืองเดียวกันอย่างแน่นอน หลายท่านคงทราบดีว่าจากหลักการเบื้องต้นของการขุดสำรวจทางโบราณคดีว่าชั้นดินที่อยู่ลึกกว่ามักจะแสดงถึงยุคสมัยที่เก่าแก่กว่าชั้นดินที่อยู่ใกล้พื้นผิว (แต่ก็ไม่เสมอไป ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆด้วยเหมือนกันครับ) ด้วยหลักการนี้ นักโบราณคดีจึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีตที่ผ่านมาด้วยการเจาะชั้นดินของทะเลสาบและเก็บตัวอย่างชั้นดินในระดับความลึกต่างๆกลับไปตรวจสอบ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็ถือว่าน่าทึ่งทีเดียวครับ เพราะชั้นดินในทะเลสาบของเมืองวิตซนามีการสะสมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราของการทับถมอยู่ที่ปีละหนึ่งเซนติเมตร สื่อว่าชาวมายาโบราณในบริเวณนี้มีการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งก็อาจจะเป็นการถางป่าเตรียมที่ทางสำหรับการเพาะปลูก เพราะมีการค้นพบเรณูของข้าวโพดในชั้นดินต่างๆด้วย นั่นแสดงว่าชาวมายาโบราณจะต้องเคยใช้งานพื้นที่บริเวณนี้เพื่อการเกษตรกรรมด้วย อีกหนึ่งข้อสังเกตที่นักโบราณคดีค้นพบจากหลักฐานที่นำไปตรวจสอบก็คือดินชั้นหนาประมาณ 3 เซนติเมตรที่อัดแน่นไปด้วย “ถ่าน” (Charcoal) ที่ถึงแม้ว่าการถางและเผาป่าเพื่อเตรียมที่ทางสำหรับเกษตรกรรมจะเป็นเรื่องปกติของชาวมายาโบราณในยุคคลาสสิก แต่นักโบราณคดีที่ตรวจสอบชั้นดินจากทะเลสาบของเมืองวิตซนาก็บอกว่าเขาไม่เคยเห็นชั้นดินที่เต็มไปด้วยถ่านความหนาถึง 3 เซนติเมตรเช่นนี้มาก่อน มันจึงไม่น่าจะเกิดจากการเผาป่าแน่ๆ นอกจากนั้น อีกหนึ่งหลักฐานที่ค้นพบในชั้นดินระดับที่อยู่สูงกว่าชั้นหนาเตอะของถ่านก็แสดงให้เห็นว่าเรณูของข้าวโพดลดลงมากผิดปกติด้วยเช่นกันครับ แต่ก่อนที่นักโบราณคดีจะสรุปอะไรได้คำถามที่จำเป็นต้องตอบให้ได้ก่อนก็คือถ่านชั้นหนาที่ว่านั้นเกิดขึ้นมาในช่วงปีไหนกันแน่? หนึ่งในเทคนิควิธีในการหาอายุที่ค่อนข้างแน่ชัดในทาง โบราณคดีก็คือการใช้คาร์บอนกัมมันตรังสี (Carbon-14) ซึ่งก็โชคดีครับที่เรามีหลักฐานของ “ถ่าน” ซึ่งเป็นคาร์บอนชั้นหนาอยู่ด้วยพอดี ดังนั้น การตรวจสอบหาอายุจึงกระทำได้ไม่ยากนัก และผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือถ่านชั้นหนานี้เกิดขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ.690 ถึงปี ค.ศ.700 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของอาณาจักรมายาโบราณยุคคลาสสิก อีกทั้งยังไม่ปรากฏหลักฐานของภัยแล้งใดๆทั้งสิ้น ส่วนชั้นดินที่ปรากฏหลักฐานเรณูของข้าวโพดที่ลดลงจากเดิมนั้นก็อยู่ถัดขึ้นไปอีกหลายศตวรรษ สอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆที่ระบุว่าเคยเกิดภัยแล้งขึ้นในช่วงท้ายของอาณาจักรมายายุคคลาสสิกอย่างลงตัว ว่าแต่เห็นช่วงปีจากผลการตรวจสอบคาร์บอนกัมมันตรังสีแล้วคุ้นๆกันบ้างไหมครับ? จารึกจากเมืองนารันโฮบอกว่านคร “บาห์ลัม โฮล” ถูกเผา ครั้งที่สองในช่วงปี ค.ศ.697 นอกจากนั้นยังมีการค้นพบหลักฐานของสัญลักษณ์ที่ระบุว่าบาห์ลัม โฮลคือเมืองวิตซนาอีกด้วย หลักฐานทั้งสองชิ้นนี้โน้มน้าวให้นักมายันวิทยาตั้งสมมติฐานว่าเมือง “บาห์ลัม โฮล” ก็คงจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้อีกแล้วล่ะครับนอกจากเมือง “วิตซนา” ที่มีหลักฐานของถ่านชั้นหนาถึง 3 เซนติเมตร และนี่ก็คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในอดีตเมืองวิตซนาหรือบาห์ลัม โฮล เคย “ถูกเผา” ครั้งใหญ่มาแล้วอย่างแน่นอน และมันก็สอดคล้องตรงกันกับข้อมูลบนแผ่นศิลาจากเมืองนารันโฮพอดิบพอดีเลยล่ะครับ คำถามต่อมาก็คือการค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับการเผาเมืองครั้งใหญ่ในเมืองวิตซนานี้ได้ให้มุมมองใหม่ๆอะไรกับนักมายันวิทยาบ้างล่ะ? แรกเริ่มเดิมที นักมายันวิทยาเสนอว่าสาเหตุของการล่มสลายของอารยธรรมมายาโบราณยุคคลาสสิกในช่วงปี ค.ศ.900 เป็นผลมาจากภัยแล้งที่ทำให้อาหารขาดแคลน เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้ชาวมายาโบราณที่เคยเชื่อว่าเป็นพวกรักสงบ เริ่มออกมาสู้รบฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร จนทำให้มหานครหลายแห่งถูกทิ้งร้างไป แต่หลักฐานที่ค้นพบจากเมืองวิตซนาทำให้นักมายันวิทยาต้องหันกลับมาทบทวนแนวคิดนี้กันใหม่ เพราะถึงแม้ว่าชาวมายาโบราณจะมีการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงดินแดนและจับกษัตริย์ผู้ปราชัยไปบูชายัญ หรือเรียกค่าไถ่ หรือจับชาวเมืองไปเป็นเชลยศึก แต่ถึงอย่างนั้นนักมายันวิทยาก็เสนอว่าสงครามที่เคยปรากฏมาในหน้าประวัติศาสตร์นั้นเป็นเพียงสงครามในเชิง “พิธีกรรม” เพื่อแสดงถึงอำนาจและความยิ่งใหญ่เท่านั้น ไม่เคยปรากฏหลักฐานของการ “ทำลายล้าง” นครให้ราบเป็นหน้ากลองด้วยการ “เผาเมือง” ครั้งยิ่งใหญ่ขนาดนี้มาก่อน นั่นหมายความว่าสงครามที่นครนารันโฮทำกับเมืองวิตซนาเมื่อปี ค.ศ.697 ไม่ได้เป็นเพียงสงครามในเชิงพิธีกรรมอีกต่อไป แต่เป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” ที่เป้าหมายของผู้บุกรุกคือการ “ทำลาย” สรรพกำลังทั้งหมดของฝ่ายศัตรูให้ราบคาบ ทั้งประชาชน บ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้เราได้เห็นว่าจริงๆแล้วชาวมายาโบราณ (ในบางช่วงของประวัติศาสตร์) ก็มีความโหดร้ายและ “กระหายสงคราม” มากกว่าที่นักมายันวิทยาเคยเสนอกันมามากมายนัก และอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ก็คือ ภัยแล้งไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้สงครามระหว่างเมืองเกิดขึ้นจนนำไปสู่ปัจฉิมบทของอาณาจักรมายาโบราณยุคคลาสสิกในปี ค.ศ.900 แต่สงครามเกิดขึ้นก่อนที่ภัยแล้งจะเข้ามามีบทบาทในช่วงปลายยุคคลาสสิกของชาวมายาโบราณหลายศตวรรษเลยทีเดียวล่ะครับ แถมเรายังเห็นว่าผู้ที่ก่อสงครามอันแสนโหดร้ายนี้ไม่ใช่บุรุษแต่กลับเป็น “สตรี” เสียด้วย จากประวัติศาสตร์ของนครนารันโฮในช่วงที่เกิดการเผาเมืองวิตซนาครั้งใหญ่นั้น ผู้ที่ปกครองนครนารันโฮเป็น “กษัตรี” ที่มีพระนามว่า “สตรี 6 นภา” (Lady 6 Sky) นางพยายามจะกอบกู้ราชวงศ์ของตนเองที่กำลังเสื่อมสลายให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยการทำสงครามกับนครรัฐทุกแห่งที่พยายามขัดขืน นักมายันวิทยาทราบว่านอกจากนครวิตซนาแล้ว ศิลาแห่งนารันโฮแผ่นเดียวกันนี้ยังได้กล่าวถึงนครอีก 3 แห่งที่ถูก “เผา” อย่างรุนแรงในสงครามเช่นกัน ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ของการเผานครอย่างโหดร้ายจะไม่ได้ทำให้นครวิตซนาถูกทิ้งร้างในทันที แต่เหตุการณ์นี้ก็พอจะทำให้เราจินตนาการได้ว่าเมื่อ “อิสตรี” ชาวมายาพร้อมที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้เมื่อไร เธอก็พร้อมที่จะออกทำสงครามด้วยดีกรี “ความโหด” ที่เหนือกว่าบุรุษอกสามศอกเสียอีก. ทึ่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/1655473
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น