วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567

 

โรคไบโพลาร์เป็นอย่างไร ทำไมจึงเกี่ยวข้องกับจิตรกรผู้โด่งดัง "แวน โก๊ะ"

Close up of the painting, titled "Self-Portrait with Straw Hat"

เป็นที่ทราบกันดีว่า "วินเซนต์ แวน โก๊ะ" ศิลปินชาวดัตช์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกมีปัญหาทางสุขภาพจิต ที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงคือ การที่เขาใช้มีดตัดหูข้างซ้ายของเขา ก่อนที่อีกสองปีต่อมาเขาตัดสินใจฆ่าตัวตาย

ทว่า จนถึงตอนนี้ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่อย่างมากมายเกี่ยวกับอาการที่แท้จริงของโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตว่ามีลักษณะอย่างไร

ที่สำคัญ เป็นเรื่องยากซับซ้อนขึ้นไปอีกกับการวินิจฉัยโลกของผู้ป่วยที่เสียชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหลายทฤษฎีที่นำมาอธิบายเกี่ยวกับสภาวะทางจิตใจของจิตรกรเอกรายนี้

หนึ่งในนั้นคือ รายงานของเหล่านักวิชาการชาวดัตช์เมื่อปี 2020 ที่ตั้งเป้าที่จะวินิจฉัยอาการผิดปกติของเขาด้วยหลักฐานที่เป็นตัวอักษรเกือบ 1,000 ตัว

ทุก ๆ ปี ในวันที่ 30 มี.ค. ถือเป็นวันไบโพลาร์โลก ซึ่งตรงกับวันเกิดของจิตรกรเอกชาวดัตช์ "แวน โก๊ะ" แล้วทำไมทั้งสองอย่างจึงมีความเกี่ยวข้องกัน บีบีซีมีคำตอบ

แวน โก๊ะ เป็นโรคไบโพลาร์จริงหรือ

The Starry Night by Vincent van Gogh

ที่มาของภาพ,CORBIS VIA GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

แวน โก๊ะวาดภาพ "ราตรีประดับดาว" (The Starry Night) ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทางจิตเวชในเมืองแซ็ง-เรมี ของฝรั่งเศส เมื่อปี 1889

แวน โก๊ะ ต้องทนทุกข์ทรมานจากปัญหาด้านสุขภาพจิตนานับประการตั้งแต่วัยรุ่น จนกระทั่งเหตุการณ์ที่กลายเป็นที่ถูกพูดถึงคือ การเขาให้มีดตัดหูด้านซ้ายของตัวเอง หลังจากเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพจิต

ต่อมาในเดือน ก.ค. 1890 ขณะที่เขายืนอยู่ในทุ่งนานอกกรุงปารีส เขาตัดสินใจลั่นไกปืนปลิดชีพตัวเอง แต่ไม่ได้เสียชีวิตในทันที สองวันถัดมา เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในวัย 37 ปี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีหลายทฤษฎีที่ถูกนำเสนอเพื่อแข่งขันและอธิบายภาวะทางจิตใจของจิตรกรเองรายนี้ ก่อนที่เขาจะปลิดชีพตัวเองลง แต่หนึ่งในทฤษฎีที่ดูจะน่าสนใจที่สุด คือ "เขาเป็นโรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว"

โรคไบโพลาร์เป็นอย่างไร

  • สุขสภาวะทางจิตที่มีผลต่ออารมณ์ และมีบุคลิกลักษณะที่เปลี่ยนไปมาแบบสุดขั้ว
  • ค่อนข้างเป็นภาวะที่พบเห็นได้โดยทั่วไป คาดว่าสามารถพบเห็นได้หนึ่งในหนึ่งร้อยคน
  • โรคไบโพลาร์มีหลายชนิดแตกต่างกันจากอาการที่แสดงออกและระยะเวลา: ชนิด 1 มีอาการพุ่งพล่านสลับไปมากับอาการซึมเศร้า, ชนิดที่ 2 มีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรงและอารมณ์พุ่งพล่าน หรือเรียกอีกอย่างว่า "มีอารมณ์ดีมากกว่าปกติ" (hypomania) เป็นระยะเวลาอันสั้น และอีกกลุ่มคือ ผู้ที่มีอาการไซโคลทิเมีย (cyclothymia) ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ที่ไม่รุนแรง แต่มีระยะเวลาแสดงอาการยาวนานกว่า
  • ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายจากภูมิหลังต่าง ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคไบโพลาร์ได้เท่า ๆ กัน และแม้ว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับทุกวัย แต่คนในช่วงวัยรุ่นตอนปลายมักมีความเปราะบางทางอารมณ์จึงสามารถเป็นโรคนี้ได้ ในช่วงอายุประมาณ 15-19 ปี
  • ในช่วงเวลาขึ้นลงของอารมณ์ทั้งสองช่วงของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์อาจจะใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือ มากกว่านั้น

แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง

  • การรักษาระยะยาวจำเป็นต้องใช้ ยาควบคุมอารมณ์ เพื่อปรับและป้องกันการสลับไปมาระหว่างขั้วซึมเศร้าและขั้วแมเนีย ให้กลับมาอยู่อารมณ์ปกติ
  • การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
  • การบำบัดทางจิตวิทยาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาซึมเศร้า
  • คำแนะนำในการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และพักผ่อนให้มากขึ้น

แต่เราสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่า เขามีอาการของโรคนี้ ไม่ใช่มาจากความทรมานจากภาวะอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท โรคซิฟิลิสระบบประสาท หรือ การได้รับสารพิษ

คำตอบกลับปรากฏบนหลักฐานที่เขาได้ทิ้งเอาไว้

A letter co-written by Vincent Van Gogh and French painter Paul Gauguin is held at an auction house

ที่มาของภาพ,AFP

คำบรรยายภาพ,

แวน โก๊ะ เคยเป็นนักเขียนที่ฝากผลงานเอาไว้จำนวนมาก นี่คือ หนึ่งในผลงานการร่วมเขียนกับเพื่อนของเขา และเพื่อนศิลปิน พอล โกแกง (Paul Gauguin)

"เราโชคดีที่ได้ศึกษางานเขียนที่มีตัวอักษรเกือบ 1,000 ตัว ที่แวน โก๊ะ เป็นคนเขียนขึ้นกับพี่น้องและผองเพื่อนของเขา ซึ่งพวกเราใช้เป็นฐานความคิดในข้อสรุปของพวกเรา" วิลเลม โนเลน ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุแล้วจากมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน ในเนเธอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ทำงานศึกษาเรื่องนี้

เขาบอกกับบีบีซีว่า ตัวอักษรเหล่านั้นถือเป็นโอกาสที่ทำให้ทีมงานของเขาได้เห็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงอาการต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยความตั้งใจของทีมงานคือ การสัมภาษณ์เพื่อวินิจฉัยโรคของแวน โก๊ะ ในฐานะคนไข้ เพื่อวิเคราะห์สุขภาวะทางจิตเวช แม้ว่าจะทราบอยู่แล้วว่า เขาไม่ได้เขียนข้อความเหล่านั้นให้กับแพทย์ และอาจจะไม่บ่งบอกถึงความจริงใจทั้งหมดของเขาในข้อความดังกล่าว

"เขาอาจจะเขียนถึงอาการของเขาเกินจริงไปในจดหมายที่เขาเขียนถึงน้องชายของเขาก็ได้ เพราะเขาต้องการเงินและความช่วยเหลือมากขึ้น ทว่า คุณสามารถใช้จินตนาการว่า หากเขาจะเขียนจดหมายถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว เช่น แม่ของเขา ซึ่งเขาอาจจะเขียนให้ดูมีอาการรุนแรงน้อยกว่าก็ได้" ศาสตราจารย์โนเลน อธิบาย

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์โนเลนยังศึกษาหนังสือเกี่ยวกับจดหมายจากแวน โก๊ะ ทั้ง 6 เล่ม รวมทั้งสัมภาษณ์นักประวัติศาสตร์ด้านศิลปะอีก 3 คน ที่พิพิธภัณฑ์วินเซนต์ แวน โก๊ะ ในประเทศเนเธอแลนด์ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับงานศึกษาชิ้นนี้

Six volumes of Van Gogh's letters

ที่มาของภาพ,WILLEM NOLEN

คำบรรยายภาพ,

ผลการศึกษาได้พิจารณาจากเนื้อหาของหนังสือเกี่ยวกับจดหมายของแวน โก๊ะ ทั้ง 6 เล่ม

ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปในวารสารภาวะไบโพลาร์ระดับนานาชาติ (the International Journal of Bipolar Disorders) ว่า แวน โก๊ะ เป็นโรคไบโพลาร์ จากลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder-BPD) ซึ่งมักจะมีแนวโน้วเลวร้ายลง ผ่านการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะทุพโภชนา หรือ ขาดสารอาหาร

ในช่วงที่แวน โก๊ะยังมีชีวิต เขาไม่เข้าใจถึงความผิดปกติในตัวเองอย่างกระจ่างชัดนัก เขาเคยเขียนถึง อาการทางจิตหรือในลักษณะของไข้ใจ หรือ ความคลั่ง ซึ่งทำให้เขาไม่รู้ว่าจะพูดหรือเรียกมันอย่างอย่างไร แต่เบื้องต้นเขาอธิบายมันว่า "ความบ้าคลั่งของศิลปินผู้เรียบง่ายคนหนึ่ง"

ผลการศึกษานี้ยังพบว่า หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า แวน โก๊ะ ทรมานกับภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยรุ่น มีลักษณะของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการจงใจทำอันตรายต่อมือหรือนิ้วของตัวเอง

แต่สิ่งที่บ่งชี้ว่า แวน โก๊ะ เป็นโรคไบโพลาร์คือ การที่เขาแสดงอาการมีอารมณ์ขั้วซึมเศร้าและคึกคัก

"แม้ว่า ในช่วงที่เขามีอาการซึมเศร้าจะเห็นชัดว่า เข้าขั้นรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า เป็นโรคไบโพลาร์แบบใด เนื่องจากเราไม่สามารถพิสูจน์ได้จากจดหมาย[ของเขา] หรือ ไม่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เขามีอาการในขั้วคึกคัก" ศาสตราจารย์โนเลน อธิบาย

Self-Portrait, 1887. Artist Vincent van Gogh

ที่มาของภาพ,HERITAGE IMAGES VIA GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

แวน โก๊ะ สร้างผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก อย่างน้อย 35 ชิ้นงานที่เกี่ยวกับภาพวาดเสมือนตัวเอง ส่วนภาพนี้เขาวาขึ้นในปี1887

ส่วนที่ทราบมาจากผลงานศิลปะที่เขารังสรรค์ระหว่างที่ยังคงมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชีวิตปั้นปลาย ที่เขาสร้างผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก อย่างน้อย 35 ชิ้นงานที่เกี่ยวกับภาพวาดเสมือนตัวเองและผลงานอื่น ๆ ที่วาดเกี่ยวกับดอกทานตะวัน

ศาสตราจารย์โนเลนกล่าว่า มีความเป็นไปได้ที่แวน โก๊ะ วาดภาพจำนวนมากขณะที่เขาอยู่มีอารมณ์ในขั้วคึกคักเกินปกติหรือมีอารมณ์ดีมากกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยในภาวะนี้ บางครั้งจะมีส่วนเกี่ยวโยงกับการมีความคิดสร้างสรรค์อย่างสุดขั้ว ซึ่งมีเหล่าเซเลบริตี หรือผู้มีชื่อเสียงกล่าวอย่างเปิดเผยว่า พวกเขาก็มีอาการเช่นนั้นเหมือนกัน อาทิ มารายห์ แครี, เดมี โลวาโต, เซเลนา โกเมซ และเบเบ เร็กซา เช่นเดียวกันกับนักดนตรี นักแสดง และศิลปินจำนวนมาก ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิต ก็เคยอธิบายถึงอาการคล้าย ๆ กัน

ศาสตราจารย์โนเลนระบุว่า มีหลักฐานหนักแน่นที่แสดงให้เห็นถึงภาวะความผิดปกติทั้งในจดหมายและผลงานศิลปะของแวน โก๊ะ เท่า ๆ กัน โดยพบว่า เขามีระยะซึมเศร้าอย่างน้อย 10 ครั้ง และอาการเข้าขั้นรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าในความจริงเขาได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชมาแล้วมากกว่าหนึ่งปีก็ตาม

เขากล่าวเสริมว่า ในระหว่างที่เขามีอาการในระยะซึมเศร้าขั้นรุนแรง แวน โก๊ะ ไม่ได้วาดภาพมากนัก ในบางช่วงก็ไม่วาดภาพเลย หรือถ้าจะวาดก็จะเป็นภาพวาดอันแสนเศร้า เทียบไม่ได้กับผลงานอื่น ๆ

Tree Roots and Trunks, 1890, by Vincent van Gogh

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

ภาพวาดสีน้ำมัน รากต้นไม้และลำต้น (Tree Roots and Trunks) ที่วาดขึ้นเมื่อปี 1890 โดยแวน โก๊ะ มีหลายคนเชื่อว่า เป็นผลงานภาพวาดชิ้นสุดท้ายของเขาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต

ตลอดชีวิตของแวน โก๊ะ ต้องทนทุกข์ในฐานะจิตรกร (ซึ่งเขาขายภาพวาดได้เพียงภาพเดียว) กับการที่มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ศาสตราจารย์โนเลนเชื่อว่า เรื่องราวนี้อาจจะแตกต่างจากสิ่งที่ศิลปินที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันต้องเผชิญ

"เขาอาจจะได้รับการวินิจฉัย และได้รับคำแนะนำไม่ให้ดื่ม(เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) และบางครั้งอาจจะไม่ต้องหลุดเข้าไปสู่ช่วงอารมณ์แปรปรวนไปมาแบบสุดขั้วจากซึมเศร้าและคึกคัก หรือไม่ก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นจิตรกรของเขา ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพูด แต่ว่า เขาก็อาจจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวเองก็ได้" เขากล่าวทิ้งท้าย

สำหรับสถานการณ์ในไทย จากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่สี่และภาพรวมปี 2566 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เปิดเผยในเดือน มี.ค. 2567 ระบุถึงสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของคนไทย จากข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตของคนไทย พบว่า โดยภาพรวมของปี 2566 คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 ที่มีสัดส่วน 12.8% เพิ่มเป็น 29.9% โดยผู้เข้ารับการประเมิน 1.2 ล้านราย มีปัญหาเสี่ยงซึมเศร้ามากที่สุด และรองลงมาเป็นกลุ่มที่มีความเครียดสูง

ที่ม่ https://www.bbc.com/thai/articles/c2lwygvxy79o





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น