เบาะแสสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารอาจอยู่บนโลกของเรา
![Nasa/JPL-Caltech](https://ichef.bbci.co.uk/ace/ws/640/cpsprodpb/8ba7/live/256fea90-6297-11ef-b43e-6916dcba5cbf.jpg.webp)
- ไมเคิล มาร์แชลล์
- บีบีซีฟิวเจอร์
ในการทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดลึกลงไปใต้พื้นผิวของดาวอังคาร มนุษย์อาจสามารถศึกษาได้จากสิ่งมีชีวิตบนโลกที่อาศัยอยู่ในจุดที่ลึกที่สุดและเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ของเรา
ดาวอังคารไม่ได้เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์สีแดงเท่านั้น แต่ยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำอีกด้วย เมื่อวันที่ 12 ส.ค. นักวิจัยชาวสหรัฐฯ รายงานหลักฐานของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นของเหลวลึกลงไปในเปลือกหินของดาวเคราะห์ดวงนี้
ข้อมูลนี้มาจากยานสำรวจอินไซต์ (Mars Insight Lander) ของนาซา ซึ่งบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวบนดาวอังคารมากกว่า 1,300 ครั้งในระยะเวลา 4 ปี นักวิจัยที่นำโดยวาชาน ไรท์ นักธรณีฟิสิกส์จากสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้ศึกษาคลื่นไหวสะเทือน (seismic waves) ที่ไปถึงยานสำรวจและสรุปว่าคลื่นเหล่านั้นได้ผ่านชั้นหินเปียก แม้ว่าพื้นผิวของดาวอังคารจะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง แต่ข้อมูลของไรท์บ่งชี้ว่า มีปริมาณน้ำจำนวนมากถูกขังอยู่ในชั้นหินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 11.5-20 กิโลเมตร
“ถ้าข้อมูลเหล่านี้ถูกต้อง” คาเรน ลอยด์ นักจุลชีววิทยาใต้ผิวโลกจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลิสกล่าว “ฉันคิดว่านี่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงวงการได้เลยทีเดียว”
การค้นพบน้ำใต้ดินบนดาวอังคารเปิดโอกาสให้การมีชีวิตใต้ดินบนดาวอังคารเกิดขึ้นได้ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีการเปิดเผยว่ามีชีวมณฑล (biosphere) ขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่ลึกภายในโลกของเราเอง และตอนนี้ดูเหมือนว่าอาจเป็นเช่นเดียวกันกับดาวอังคาร ชีวิตบนดาวอังคาร หากมีอยู่จริง อาจอยู่ใต้ดินก็ได้
ชีวมณฑลลึกใต้พื้นผิว
ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา นักชีววิทยาได้สะสมหลักฐานว่ายังคงมีสิ่งมีชีวิตที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินบนโลกของเรา นักวิจัยพยายามขุดเจาะลึกลงไปในพื้นทะเลและทวีปต่าง ๆ และพบกับสิ่งมีชีวิตในตะกอนที่ถูกฝังลึก แม้แต่ในชั้นและคริสตัลของหินแข็ง
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในความมืดนี้เป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว โดยเฉพาะแบคทีเรียและอาร์เคีย (archaea) สองกลุ่มใหญ่นี้เป็นรูปแบบชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักบนโลก พวกมันมีอยู่มากกว่า 3,000 ล้านปีแล้ว นานก่อนที่สัตว์และพืชจะถือกำเนิดขึ้น
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่ามีชีวมณฑลที่อยู่ลึกลงไปใต้ผืนดินซึ่งมีความหลากหลายสูงอีกด้วย “มีสิ่งมีชีวิตหลายประเภทที่อาศัยอยู่ลึกใต้ดิน” คารา แม็กนาโบสโก นักธรณีชีววิทยาจาก ETH ซูริก ในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว
แบคทีเรียแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ที่เรียกว่าไฟลัม มีเพียงไม่กี่สิบกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการ จากที่คาดการณ์ว่ามีอยู่ประมาณ 1,300 กลุ่ม “ไฟลัมเหล่านี้เกือบทั้งหมดสามารถพบได้ใต้ดิน” แม็กนาโบสโกกล่าว
![NASA](https://ichef.bbci.co.uk/ace/ws/640/cpsprodpb/14ca/live/564e4ad0-6297-11ef-b43e-6916dcba5cbf.jpg.webp)
พบซากของก้นทะเลสาบบนพื้นผิวของดาวอังคาร แม้ว่าน้ำที่เหลืออยู่จะอยู่ลึกลงไปใต้ดินในปัจจุบัน การวิเคราะห์อภิมาน [วิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ] ในปี 2023 พบว่าระบบนิเวศใต้ดินส่วนใหญ่ถูกครอบครองโดยสองไฟลัมหลักคือ Pseudomonadota และ Firmicutes แบคทีเรียประเภทอื่นพบได้น้อยกว่ามาก แต่ก็ยังมีไฟลัมที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
จุลินทรีย์เหล่านี้จึงไม่สามารถได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรงเหมือนกับสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์แสงบนพื้นผิวโลก เนื่องจากเป็นที่มืดสนิท “สิ่งที่สำคัญมากที่ควรทราบคือ พวกมันส่วนใหญ่ไม่ใช้ชีวิตโดยขึ้นอยู่กับดวงอาทิตย์” ลอยด์กล่าว
พวกมันยังไม่ได้รับสารอาหารหรือปัจจัยอื่น ๆ จากด้านบนอีกด้วย แม็กนาโบสโกกล่าวว่าระบบนิเวศลึกลงไปใต้ผืนดินหลายแห่ง “ถูกตัดขาดจากพื้นผิวอย่างสิ้นเชิง”
ระบบนิเวศเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากการสังเคราะห์ทางเคมี (Chemosynthesis) จุลินทรีย์ได้รับพลังงานโดยทำปฏิกิริยาเคมี โดยดูดซับสารเคมีจากหินและน้ำรอบ ๆ ตัว เช่น อาจใช้ก๊าซมีเทนหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นวัตถุดิบ “ใต้พื้นผิวมีปฏิกิริยาเคมีหลายรูปแบบ” ลอยด์กล่าว “พวกเราหลายคนใช้เวลาในการค้นหาปฏิกิริยาใหม่ ๆ ที่ช่วยสนับสนุนชีวิต”
จุลินทรีย์สังเคราะห์เคมีอาจดูเหมือนเป็นสิ่งแปลกประหลาดเพราะพวกมันพบได้ยากในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งเป็นที่ที่มนุษย์เราใช้เวลาอยู่และมักพบได้เฉพาะในส่วนลึกของมหาสมุทรและใต้ดินที่แข็งตัว แต่พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดประเภทหนึ่งบนโลก สมมติฐานบางข้อมองว่าชีวิตแรกบนโลกเป็นสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์เคมี
แม้ว่าจุลินทรีย์เซลล์เดียวจะครองดินแดนใต้พื้นผิวโลก แต่ก็มีสัตว์หายากบางชนิดที่อาศัยอยู่ด้วย การศึกษาในปี 2011 ระบุพบไส้เดือนฝอยในน้ำที่อยู่ในรอยแยกจากความลึก 0.9-3.6 กิโลเมตร ในเหมืองที่แอฟริกาใต้ ดูเหมือนจะมีน้ำอยู่ที่นั่นมาอย่างน้อย 3,000 ปี บ่งชี้ว่าประชากรไส้เดือนฝอยอาจมีอายุหลายพันปีแล้ว การศึกษาเพิ่มเติมในปี 2015 พบพยาธิแบน พยาธิตัวแยก รอทิเฟอร์ และอาร์โทรพอดในน้ำในรอยแยกที่ความลึก 1.4 กิโลเมตร โดยน้ำที่นั่นมีอายุถึง 12,300 ปี สัตว์เหล่านี้กินจุลินทรีย์ชั้นบาง ๆ ที่อยู่บนผิวหิน
สำหรับเรา พื้นที่ใต้ดินลึกดูเหมือนเป็นสถานที่ที่ท้าทายอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต เมื่อเทียบกับพื้นผิว ประชากรจุลินทรีย์มีอยู่น้อย แต่ก็ยังมีหินจำนวนมากที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยได้ ในปี 2018 แม็กนาโบสโกและเพื่อนร่วมงานได้ประมาณขนาดของชีวมวลที่อาศัยอยู่ใต้ทวีปต่าง ๆ โดยรวมข้อมูลจากจำนวนและความหลากหลายของเซลล์จากสถานที่ขุดเจาะทั่วโลก พวกเขาประเมินว่ามีเซลล์ประมาณ 2 ถึง 6×10^29 [หกคูณสิบยกกำลังยี่สิบเก้า] เซลล์ที่อาศัยอยู่ใต้ทวีปของโลก เพื่อเปรียบเทียบให้เห็น มีดวงดาวเพียงประมาณ 10^24 [สิบยกกำลังยี่สิบสี่] ดวงในจักรวาลที่สามารถสังเกตเห็นได้
“เรามีจำนวนเซลล์ที่มากมายมหาศาลอยู่ใต้เท้าของเรา” แม็กนาโบสโกกล่าว เธอยังเสริมว่า ประมาณ 70% ของแบคทีเรียและอาร์เคียทั้งหมดบนโลกอยู่ใต้ดิน
อย่างไรก็ตาม ขอบเขตความลึกของชีวมณฑลยังไม่ชัดเจน ชีวิตอาจมีขีดจำกัดด้านอุณหภูมิสูงสุด แต่เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าขีดจำกัดนั้นอยู่ที่ไหน ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถดำรงอยู่บนพื้นผิวลาวาที่หลอมเหลวได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถทนความร้อนที่น่าทึ่งได้ เช่น อาร์เคียที่ชื่อ Methanopyrus kandleri สามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ที่อุณหภูมิ 122 องศาเซลเซียส
![Nasa/JPL-Caltech/University of Arizona](https://ichef.bbci.co.uk/ace/ws/640/cpsprodpb/abdd/live/73c24530-6297-11ef-b970-9f202720b57a.jpg.webp)
มีการพบสิ่งที่อาจเป็นภูเขาไฟโคลนบนพื้นผิวของดาวอังคาร หากขุดลึกลงไปใต้ดินมากพอ ความดันก็จะกลายเป็นปัญหา ประเภทของหินก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมันส่งผลต่อปฏิกิริยาเคมีที่สามารถเกิดขึ้นได้ และทำให้เกิดประเภทของจุลินทรีย์ที่ใช้การสังเคราะห์ทางเคมีที่สามารถอาศัยอยู่ที่นั่นได้ “แต่ฉันไม่สามารถบอกตัวเลขให้คุณได้ว่า [ชีวิตอยู่ลึกลงไปได้แค่ไหน] เพราะเรายังไม่ถึงจุดนั้น เรายังไม่ได้เจาะลึกขนาดนั้น” ลอยด์กล่าว ขีดจำกัดอาจลึกอย่างน่าประหลาดใจ การศึกษาตัวอย่างจากภูเขาไฟโคลนในปี 2017 แสดงให้เห็นว่าชีวิตอาจมีอยู่ลึกลงไป 10 กิโลเมตร ใต้พื้นทะเล
ชีวิตบางส่วนดำเนินไปอย่างช้ามาก “มีบางส่วนของใต้พื้นผิวโลก โดยเฉพาะใต้มหาสมุทรของเรา ซึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นจริง ๆ เป็นเวลาหลายล้านปี” ลอยด์กล่าว เนื่องจากไม่มีสารอาหารใหม่ ๆ เข้ามาจากด้านบน และไม่มีทางหนีไปไหน จุลินทรีย์ในสถานที่เหล่านี้มีอาหารน้อยมาก “นั่นหมายความว่าพวกมันไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะสร้างเซลล์ใหม่” เธอกล่าว แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกมันจะชะลอการเผาผลาญและแทบจะอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง “มันค่อนข้างสมเหตุสมผลที่เซลล์เดียวอาจมีชีวิตอยู่ได้นานนับพันปีหรือนานกว่านั้น”
สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ที่พึ่งพาปฏิกิริยาเคมีระหว่างหินและน้ำ และอาจมีอัตราการเผาผลาญที่ช้ามาก อาจเป็นไปได้ที่จะพบในหินที่อุดมไปด้วยน้ำใต้พื้นผิวของดาวอังคารลึกลงไป
ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา นักชีววิทยาได้สะสมหลักฐานว่ายังคงมีสิ่งมีชีวิตที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินบนโลกของเรา นักวิจัยพยายามขุดเจาะลึกลงไปในพื้นทะเลและทวีปต่าง ๆ และพบกับสิ่งมีชีวิตในตะกอนที่ถูกฝังลึก แม้แต่ในชั้นและคริสตัลของหินแข็ง
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในความมืดนี้เป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว โดยเฉพาะแบคทีเรียและอาร์เคีย (archaea) สองกลุ่มใหญ่นี้เป็นรูปแบบชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักบนโลก พวกมันมีอยู่มากกว่า 3,000 ล้านปีแล้ว นานก่อนที่สัตว์และพืชจะถือกำเนิดขึ้น
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่ามีชีวมณฑลที่อยู่ลึกลงไปใต้ผืนดินซึ่งมีความหลากหลายสูงอีกด้วย “มีสิ่งมีชีวิตหลายประเภทที่อาศัยอยู่ลึกใต้ดิน” คารา แม็กนาโบสโก นักธรณีชีววิทยาจาก ETH ซูริก ในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว
แบคทีเรียแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ที่เรียกว่าไฟลัม มีเพียงไม่กี่สิบกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการ จากที่คาดการณ์ว่ามีอยู่ประมาณ 1,300 กลุ่ม “ไฟลัมเหล่านี้เกือบทั้งหมดสามารถพบได้ใต้ดิน” แม็กนาโบสโกกล่าว
![NASA](https://ichef.bbci.co.uk/ace/ws/640/cpsprodpb/14ca/live/564e4ad0-6297-11ef-b43e-6916dcba5cbf.jpg.webp)
การวิเคราะห์อภิมาน [วิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ] ในปี 2023 พบว่าระบบนิเวศใต้ดินส่วนใหญ่ถูกครอบครองโดยสองไฟลัมหลักคือ Pseudomonadota และ Firmicutes แบคทีเรียประเภทอื่นพบได้น้อยกว่ามาก แต่ก็ยังมีไฟลัมที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
จุลินทรีย์เหล่านี้จึงไม่สามารถได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรงเหมือนกับสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์แสงบนพื้นผิวโลก เนื่องจากเป็นที่มืดสนิท “สิ่งที่สำคัญมากที่ควรทราบคือ พวกมันส่วนใหญ่ไม่ใช้ชีวิตโดยขึ้นอยู่กับดวงอาทิตย์” ลอยด์กล่าว
พวกมันยังไม่ได้รับสารอาหารหรือปัจจัยอื่น ๆ จากด้านบนอีกด้วย แม็กนาโบสโกกล่าวว่าระบบนิเวศลึกลงไปใต้ผืนดินหลายแห่ง “ถูกตัดขาดจากพื้นผิวอย่างสิ้นเชิง”
ระบบนิเวศเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากการสังเคราะห์ทางเคมี (Chemosynthesis) จุลินทรีย์ได้รับพลังงานโดยทำปฏิกิริยาเคมี โดยดูดซับสารเคมีจากหินและน้ำรอบ ๆ ตัว เช่น อาจใช้ก๊าซมีเทนหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นวัตถุดิบ “ใต้พื้นผิวมีปฏิกิริยาเคมีหลายรูปแบบ” ลอยด์กล่าว “พวกเราหลายคนใช้เวลาในการค้นหาปฏิกิริยาใหม่ ๆ ที่ช่วยสนับสนุนชีวิต”
จุลินทรีย์สังเคราะห์เคมีอาจดูเหมือนเป็นสิ่งแปลกประหลาดเพราะพวกมันพบได้ยากในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งเป็นที่ที่มนุษย์เราใช้เวลาอยู่และมักพบได้เฉพาะในส่วนลึกของมหาสมุทรและใต้ดินที่แข็งตัว แต่พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดประเภทหนึ่งบนโลก สมมติฐานบางข้อมองว่าชีวิตแรกบนโลกเป็นสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์เคมี
แม้ว่าจุลินทรีย์เซลล์เดียวจะครองดินแดนใต้พื้นผิวโลก แต่ก็มีสัตว์หายากบางชนิดที่อาศัยอยู่ด้วย การศึกษาในปี 2011 ระบุพบไส้เดือนฝอยในน้ำที่อยู่ในรอยแยกจากความลึก 0.9-3.6 กิโลเมตร ในเหมืองที่แอฟริกาใต้ ดูเหมือนจะมีน้ำอยู่ที่นั่นมาอย่างน้อย 3,000 ปี บ่งชี้ว่าประชากรไส้เดือนฝอยอาจมีอายุหลายพันปีแล้ว การศึกษาเพิ่มเติมในปี 2015 พบพยาธิแบน พยาธิตัวแยก รอทิเฟอร์ และอาร์โทรพอดในน้ำในรอยแยกที่ความลึก 1.4 กิโลเมตร โดยน้ำที่นั่นมีอายุถึง 12,300 ปี สัตว์เหล่านี้กินจุลินทรีย์ชั้นบาง ๆ ที่อยู่บนผิวหิน
สำหรับเรา พื้นที่ใต้ดินลึกดูเหมือนเป็นสถานที่ที่ท้าทายอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต เมื่อเทียบกับพื้นผิว ประชากรจุลินทรีย์มีอยู่น้อย แต่ก็ยังมีหินจำนวนมากที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยได้ ในปี 2018 แม็กนาโบสโกและเพื่อนร่วมงานได้ประมาณขนาดของชีวมวลที่อาศัยอยู่ใต้ทวีปต่าง ๆ โดยรวมข้อมูลจากจำนวนและความหลากหลายของเซลล์จากสถานที่ขุดเจาะทั่วโลก พวกเขาประเมินว่ามีเซลล์ประมาณ 2 ถึง 6×10^29 [หกคูณสิบยกกำลังยี่สิบเก้า] เซลล์ที่อาศัยอยู่ใต้ทวีปของโลก เพื่อเปรียบเทียบให้เห็น มีดวงดาวเพียงประมาณ 10^24 [สิบยกกำลังยี่สิบสี่] ดวงในจักรวาลที่สามารถสังเกตเห็นได้
“เรามีจำนวนเซลล์ที่มากมายมหาศาลอยู่ใต้เท้าของเรา” แม็กนาโบสโกกล่าว เธอยังเสริมว่า ประมาณ 70% ของแบคทีเรียและอาร์เคียทั้งหมดบนโลกอยู่ใต้ดิน
อย่างไรก็ตาม ขอบเขตความลึกของชีวมณฑลยังไม่ชัดเจน ชีวิตอาจมีขีดจำกัดด้านอุณหภูมิสูงสุด แต่เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าขีดจำกัดนั้นอยู่ที่ไหน ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถดำรงอยู่บนพื้นผิวลาวาที่หลอมเหลวได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถทนความร้อนที่น่าทึ่งได้ เช่น อาร์เคียที่ชื่อ Methanopyrus kandleri สามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ที่อุณหภูมิ 122 องศาเซลเซียส
![Nasa/JPL-Caltech/University of Arizona](https://ichef.bbci.co.uk/ace/ws/640/cpsprodpb/abdd/live/73c24530-6297-11ef-b970-9f202720b57a.jpg.webp)
หากขุดลึกลงไปใต้ดินมากพอ ความดันก็จะกลายเป็นปัญหา ประเภทของหินก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมันส่งผลต่อปฏิกิริยาเคมีที่สามารถเกิดขึ้นได้ และทำให้เกิดประเภทของจุลินทรีย์ที่ใช้การสังเคราะห์ทางเคมีที่สามารถอาศัยอยู่ที่นั่นได้ “แต่ฉันไม่สามารถบอกตัวเลขให้คุณได้ว่า [ชีวิตอยู่ลึกลงไปได้แค่ไหน] เพราะเรายังไม่ถึงจุดนั้น เรายังไม่ได้เจาะลึกขนาดนั้น” ลอยด์กล่าว ขีดจำกัดอาจลึกอย่างน่าประหลาดใจ การศึกษาตัวอย่างจากภูเขาไฟโคลนในปี 2017 แสดงให้เห็นว่าชีวิตอาจมีอยู่ลึกลงไป 10 กิโลเมตร ใต้พื้นทะเล
ชีวิตบางส่วนดำเนินไปอย่างช้ามาก “มีบางส่วนของใต้พื้นผิวโลก โดยเฉพาะใต้มหาสมุทรของเรา ซึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นจริง ๆ เป็นเวลาหลายล้านปี” ลอยด์กล่าว เนื่องจากไม่มีสารอาหารใหม่ ๆ เข้ามาจากด้านบน และไม่มีทางหนีไปไหน จุลินทรีย์ในสถานที่เหล่านี้มีอาหารน้อยมาก “นั่นหมายความว่าพวกมันไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะสร้างเซลล์ใหม่” เธอกล่าว แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกมันจะชะลอการเผาผลาญและแทบจะอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง “มันค่อนข้างสมเหตุสมผลที่เซลล์เดียวอาจมีชีวิตอยู่ได้นานนับพันปีหรือนานกว่านั้น”
สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ที่พึ่งพาปฏิกิริยาเคมีระหว่างหินและน้ำ และอาจมีอัตราการเผาผลาญที่ช้ามาก อาจเป็นไปได้ที่จะพบในหินที่อุดมไปด้วยน้ำใต้พื้นผิวของดาวอังคารลึกลงไป
จุลินทรีย์บนดาวอังคาร
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดหรือโดยตรงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร แม้จะมีการส่งภารกิจสำรวจที่ไม่มีลูกเรือไปยังดาวเคราะห์สีแดงมานานหลายทศวรรษแล้ว พื้นผิวของดาวอังคารแห้งและเย็น และยังไม่มีสิ่งมีชีวิตใดปรากฏในภาพของกล้องรถสำรวจบนดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม ลักษณะต่าง ๆ เช่น หุบเขา บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าดาวอังคารเคยมีน้ำไหลบนพื้นผิวเมื่อหลายพันล้านปีก่อน น้ำบางส่วนอาจสูญหายไปในอวกาศ แต่ทีมของไรท์สรุปว่ายังมีน้ำจำนวนมากอยู่ใต้พื้นผิว
“เรารู้ว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตแบบที่เรารู้จัก” ลอยด์กล่าว ดังนั้น บางทีพื้นผิวของดาวอังคารอาจเคยเอื้อต่อการอยู่อาศัย และตอนนี้อาจเป็นเพียงใต้พื้นผิวเท่านั้นที่ยังเอื้อต่อการดำรงชีวิต “ฉันชอบความคิดที่ว่าชีวิตอาจถูกฝังอยู่ใต้ดิน” เธอกล่าว
จุลินทรีย์บนดาวอังคารอาจยึดติดกับการดำรงชีวิตแม้จะมีสารอาหารเพียงน้อยนิด เหมือนกับจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ลึกใต้มหาสมุทรของโลก “กระบวนการแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นใต้พื้นผิวของเราสามารถเกิดขึ้นบนดาวอังคารได้” แม็กนาโบสโกกล่าว
หลักฐานที่บ่งบอกถึงชีวิตมากที่สุดจนถึงปัจจุบันคือการพุ่งของก๊าซมีเทนในบรรยากาศของดาวอังคาร ซึ่งมีความแตกต่างตามฤดูกาล บนโลก ก๊าซมีเทนมักถูกสร้างขึ้นโดยจุลินทรีย์ ดังนั้นก๊าซนี้อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากชีวิตใต้ดิน อย่างไรก็ตาม ลอยด์เตือนให้ระมัดระวัง “มีหลายสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้เกิดการพุ่งของก๊าซมีเทนได้” เธอกล่าว
นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ อีกมากมายต่อชีวิตใต้พื้นผิวของดาวอังคาร “ชีวิตไม่ได้ต้องการแค่น้ำ” ลอยด์กล่าว “มันต้องการพลังงานและที่อยู่อาศัย ดังนั้นมันจึงต้องการแหล่งที่อยู่” เราไม่ทราบว่ารูพรุนในหินของดาวอังคารมีขนาดใหญ่พอสำหรับจุลินทรีย์หรือไม่ เช่นเดียวกัน องค์ประกอบทางเคมีของหินที่ลึกลงไปก็มีความสำคัญ เนื่องจากพวกมันจะเป็นแหล่งพลังงานเคมี
สำหรับแม็กนาโบสโก “ความไม่แน่นอนที่ใหญ่ที่สุด” เกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารคือ “มันเกิดขึ้นหรือไม่” เนื่องจากเราไม่รู้ว่าชีวิตแรกเกิดขึ้นจากวัสดุที่ไม่มีชีวิตได้อย่างไร เราจึงไม่รู้ว่าสภาพบนดาวอังคารเคยเหมาะสมสำหรับการเกิดขึ้นของชีวิตหรือไม่ “ถ้าชีวิตสามารถพัฒนาบนดาวอังคารได้” เธอกล่าว “มันก็มีโอกาสมากที่จะยังคงอยู่รอดและมีชีวิตอยู่บนดาวอังคารในปัจจุบัน”
หากมีชีวมณฑลลึกบนดาวอังคารอยู่จริง เราจะหามันได้อย่างไร แนวคิดที่ชัดเจนคือการขุดเจาะลงไปในดาวอังคาร แต่เราจำเป็นต้องขุดลึกถึง 10 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นงานที่ยากแม้แต่บนโลก การทำเช่นนั้นบนดาวเคราะห์ที่ไม่มีอากาศที่หายใจได้หรือไม่มีน้ำไหล “มันยากกว่ามาก ๆ” แม็กนาโบสโกกล่าว
อย่างไรก็ตาม เราควรหลักฐานสนับสนุนได้ ภารกิจ Mars Sample Return ที่วางแผนไว้ของนาซาจะนำน้ำแข็งจากดาวอังคารกลับมายังโลก ตัวอย่างดังกล่าวอาจมีร่องรอยของชีวิตอยู่ด้วย
“การติดตามก๊าซมีเทนจะมีประโยชน์อย่างมาก” ลอยด์กล่าว ปัจจุบันเราไม่รู้ว่าก๊าซนี้มาจากไหน “หากเราพบว่ากระเปาะน้ำเกี่ยวข้องกับการพุ่งของก๊าซมีเทน” นั่นจะบ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิต เธอกล่าว
สุดท้าย หากดาวอังคารมีน้ำเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ จริงๆ เราอาจใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ บนโลก ลักษณะต่าง ๆ เช่น น้ำพุร้อน นำน้ำจากใต้ดินลึกขึ้นมาบนพื้นผิว “ดาวอังคารมีภูเขาไฟโคลน” ลอยด์กล่าว “มีบางจุดบนดาวอังคารที่คุณสามารถไปถึงและมีตัวอย่างจากใต้พื้นผิวลึกที่ถูกนำขึ้นมาบนพื้นผิว”
อาจต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะได้คำตอบที่แน่ชัด คำตอบนั้นอาจทำให้ผิดหวังได้ด้วย ดาวอังคารมีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกและกิจกรรมไฮโดรลิกน้อยกว่าโลกมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าชีวิตอาจมีอยู่น้อยมากหรือไม่มีอยู่เลย “เราอาจกำลังมองหาชีวิตที่ไม่มีชีวิตมานานแล้ว” ลอยด์กล่าว ในกรณีดังกล่าว สิ่งที่เราอาจพบอาจเป็นเพียงหลักฐานฟอสซิล ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ “ไม่ว่าจะทางไหน มันก็ถือเป็นชีวิตบนดาวอังคาร” เธอกล่าว
ไมเคิล มาร์แชล เป็นนักข่าวอิสระด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้เขียนหนังสือ The Genesis Quest: The geniuses and eccentrics on a journey to uncover the origin of life on Earth (ภารกิจแห่งการกำเนิด: อัจฉริยะและผู้มีความแปลกประหลาดในการค้นพบต้นกำเนิดของชีวิตบนโลก)
ที่มา https://www.bbc.com/thai/articles/c0k4pem32eko
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น